วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กติกาฟุตบอล


กติกาฟุตบอล

กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอลขนาดสนาม  (Dimensions)
                สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยความยาวของเส้นข้าง (Touch Line)  ต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตู (goal Line)
                ความยาว                ต่ำสุด      90           เมตร       (100 หลา)            
                                                สูงสุด     120         เมตร       (130 หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      45           เมตร       (50    หลา)
                                                สูงสุด     90           เมตร       (100  หลา)
     การแข่งขันระหว่างชาติ
                ความยาว                ต่ำสุด      100         เมตร       (110 หลา)
                                                สูงสุด     110         เมตร       (120  หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      64           เมตร       (70  หลา)
                                                สูงสุด     75           เมตร       (80  หลา)
การทำเครื่องหมายต่าง ๆ ของสนาม ( Field Markings)
                สนามแข่งขันทำด้วยเส้นต่าง ๆ ซึ่งเส้นต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นที่ของเขตนั้น ๆ ด้วย  เส้นที่มีความกว่า 2 เส้น  เรียกว่า  "เส้นข้าง" เส้นที่สั้นกว่า 2 เส้น เรียกว่า "เส้นประตู" ทุกเส้นต้องมีความกว้างไม่เกิน 12 เซนติเมตร  (5 นิ้ว)
                สนามแข่งขันจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน  โดยเส้นแบ่งเขตแดน(Halfway Line) จะทำจุดกึ่งกลางสนาม (Center mark) ไว้ และทำวงกลมรัศมี 9.15 เมตร (10 หลา) ล้อมรอบจุดนี้ไว้
เขตประตู (The Goal Area)
                เขตประตูจะทำไว้ตรงท้ายของสนามแต่ละด้าน  ดังนี้
                จากขอบเสาประตูด้านในแต่ละข้างวัดออกไปตามแนวเส้นประตุแต่ละด้านละ 5.5 เมตร (6 หลาและทำเส้นเป็นแนวตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 5.5 เมตร ( 6  หลาเส้นทั้งสองเส้นนี้จะเชื่อมต่อด้วยเส้นหนึ่งที่เขียนขนานกับเส้นประตู  พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบ  เรียกว่า  "เขตประตู"
เขตโทษ (Penalty Area)
เขตโทษจะทำไว้ส่วนท้ายของสนามแต่ละด้าน ดังนี้
                จากขอบเสาประตูด้านในแต่ละข้างวัดออกไปตามแนวเส้นประตูด้านละ 16.5 เมตร  เส้นทั้งสองเส้นนี้จะเชื่อมต่อด้วยเส้นหนึ่งที่ขนานกับเส้นประตู  พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบเรียกว่า "เขตโทษ"
                ภายในเขตโทษแต่ละด้านทำจุดโทษ (Penaity Mark) ไว้ โดยห่างจากจุดกึ่งกลาวงระหว่างเสาประตูเป็นระยะทาง 11 เมตร (12 หลาและทำส่วนโค้งเขัยนไว้ด้านนอกเขตโทษโดยรัสมีห่างจากจุดโทษแต่ละด้านเป็นระยะทาง 9.15  เมตร (10 หลา)
เสาธง (Flagposts)
                เสาธงต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร (5 ฟุตต้องไม่มียอดแหลมและจะปักไว้ที่มุมสนามแต่ละมุม
                อาจปักเสาธงไว้ที่ปลายเส้นแบ้งแดนแต่ละด้านก็ได้  แต่ต้องห่างจากเส้นข้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร (1  หลา )
ส่วนดค้งมุมสนาม(The Corner Arc)
                จากเสาธงมุมสนามแต่ละด้านให้เขียน 1/4 ของส่วนโค้งไว้ด้านในสนามแข่งขันโดยมีรัศมี 1 เมตร (1 หลา)
ประตู(Goals)
                ประตูต้องตั้งอยู่บนกึ่งกลางเส้นประตูแต่ละด้าน  ประกอบด้วยเสา 2 ต้นที่ปักตั้งฉากไว้และวัดห่างจากธงมุมสนามเป็นระยะห่างเท่ากัน  และมีคานเชื่อมต่อในแนวนอน  ระยะทางระหว่างเสาประตู 7.32 เมตร (8 หลาและระยะทางจากส่วนใต้คานถึงพื้นสนาม 2.44 เมตร (8 ฟุต)
                เสาและคานประตูทั้งสองด้าน  ต้องมีขนาดเท่ากัน  และมีความกว้างและความหนาไม่เกิน 12 เซนติเมตร (5 นิ้ว) เส้นประตูต้องมีความกว้างเท่ากับความกว้างของเสาและคานประตู อาจติดตาข่ายไว้ที่ประตูและพื้นสนามด้านหลังประตูโดยต้องแน่ใจว่าติดต้องไว้อย่างเรียนร้อยเหมาะสม  และต้องไม่รบกวนการเล่นของผู้รักษาประตู
                เสาและคานประตูต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
ความปลอดภัย(Safety)
                ประตูต้องตั้งยึดติดไว้กับพื้นสนามเพื่อความปลอดภัย  อาจใช้ประตูที่เคลื่อนย้ายได้ถ้าทำตามความต้องการนี้จนพอใจแล้ว
มติสภาฟุตบอลระหว่างประเทศ
1.                   ถ้าคานประตูหลุด หรือหัก จะต้องหยุดการเล่นจนกว่าจะมีการซ่อมให้เสร็จหรือเปลิ่อนใหม่ก่อนถ้าไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้จะต้องยุติการแข่งขัน  ไม่อนุญาตให้ใช้เชือกขึงแทนคานประตู  การเริ่มเล่นใหม่จะเริ่มโดยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
2.                   เสาและคานประตูต้องทำด้วยไม้ ดลหะ หรือวัสดุที่ได้รับการรับรองแล้ว รูปทรงอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า จัตุรัส ทรงกลม หรือรูปไข่ และต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
3.                   ไม่อนุญาตให้โฆษณาสินค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นของจริงหรือตัวแทนบนสนามแข้งขันและอุปกรณ์ของสนาม รวมทั้งที่ตาข่ายประตูและพื้นที่ภายในนั้น) นับตั้งแต่ทีมได้เข้าไปสู่สนามแข่งขันอีก จรกระทั้งหมดเวลาของการแข่งขันต้องไม่มีการโฆษณาบนอุปกณ์ทุกชนิดที่แสดงให้เห็นบนขอบประตู ตาข่าย เสาธง หรือบนพื้นธง  ต้องไม่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ จากภายนอกที่มาติดตั้งไว้กับสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวด้วย (กล้อง ไมโครโฟน ฯลฯ)
4.                   ห้ามมีการโฆษณาใด ๆ บนพื้นที่ภายในรัศมี 1 เมตรจากเส้นขอบของสนามฟุตบอล  และไม่อนุญาตให้ติดป้ายโฆษณาบริเวณระหว่างเส้นประตูและบริเวณหลังตาข่ายของประตูฟุตบอล
5.                   ห้ามจำลองสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายใด ๆ ไม่ว่าจะเป้นของจริงหรือตัวแทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ  สหพันธ์สมาคมแห่งชาติ สโมสร หรือองค์กรอื่น ๆบนสนามแข่งขัน  และอุปกรณ์ของสนาม (รวมทั้งที่ตาข่ายประตูและพื้นที่ภายในนั้น)
6.                   อาจทำเส้นตั้งฉากกับเส้นประตูไว้ด้านนอกสนามแข่งขันโดยวัดห่างจากส่วนโค้งมุมสนามมาเป็นระยะทาง 9.15 เมตร (10 หลา) เพื่อให้แน่ใจว่าในขณะมีการเตะจากมุมได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระยะนี้

  • กฎข้อที่ 2คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements)
ลูกบอลต้อง
1.      เป็นทรงกลม
2.      ทำจากหนังหรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม
3.      เส้นรอบวงไม่เกินกว่า 70 เซนติเมตร (28 นิ้วไม่น้อยกว่า 68 เซนติเมตร (27 นิ้ว)
4.   ในขณะที่เริ่มทำการแข้งขันน้ำหนักไม่เกิน 450 กรัม (16 ออนซ์และไม่ต่ำกว่า 410 กรัม (14 ออนซ์)
5.   ความดันลมเมื่อวัดที่ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 0.6 - 1. (600 -1100 กรัม/ตร.ซฒ. หรือ 8.5 -15.6 ปอนด์/ตร.นิ้ว)
 การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด
                ถ้าลูกบอลแตก  หรือชำรุดระหว่างการแข่งขัน ต้อง
1.      หยุดการเล่น
2.      เริ่มเล่นใหม่โดยทำการเปลี่ยนใหม่ ณ จุดที่ลูกบอลแรกชำรุด
ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในขณะที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น เช่น เมื่อเตะเริ่มเล้น  เตะจากประตู เตะจากมุม เตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการทุ่ม ต้องเริ่มจากเล่นใหม่ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 
ในขณะแข่งขันจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน

  • กฎข้อที่ 4
 อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น) ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขัน ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตู และยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น

  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
อำนาจและหน้าที่ (The Authority of the Referee)
                การแข่งขันแต่ละครั้งต้องควบคุมโดยผู้ตัดสินซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
อำนาจ และหน้าที่ (Poers and Duties)
            ผู้ตัดสินต้อง
1.                   ปฏิบัติตามกติกาข้อต่าง ๆ
2.                   ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
3.                   แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
4.                   แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
5.                   ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน  และเขียนรายงานการแข่งขัน
6.                   พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
7.                   พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วครา หรือยุติการแข่งขัน  เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
8.                   สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้าออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว  ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้ริมเล่นไปแล้ว
9.                   อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
10.               แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว  และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
11.               อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ () และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น ก้จะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
12.               ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
13.               ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ()  และการให้ออกจาการแข่งขัน () เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด  แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
14.               ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี  และเขาอาจพิจารณาให้อกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันมี
15.               ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
16.               แน่ในว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
17.               ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
18.               เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้  ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์ณ์อื่น ๆ ทักกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน  ระหว่างการแข่งขัน  หรือภายหลังการแข่งขัน
การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสิน
                การพิจารณาตัดสินในของผู้ตัดสินที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขันถือเป็นข้อยุติ    ผู้ตัดสินอาจกลับคำตัดสินได้ถ้าพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกต้องหรือเขาได้พิจารณาตามความช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสิน  โดยมีเงื่อนไขว่า การเริ่มเล่นใหม่นั้นยังไม่ได้เริ่มขึ้น

  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
       การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง  ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม  การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)
พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1.                  ผู้ล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2.                  การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3.                  ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4.                   เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
การชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
                การชดเชยเวลาสามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งของการแข่งขันสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจาก
1.                  การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
2.                  การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
3.                  การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันเพื่อทำการปฐมพยาบาล
4.                  การถ่วงเวลาการแข่งขัน
5.                  สาเหตุอื่น ๆที่เกิดขึ้นทุกกรณี
การชดเชยสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจะอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
การเตะ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
                อนุญาตให้เพิ่มเวลาเพื่อการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ในช่วงเวลาสุดท้ายของแต่ละครี่ง  หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของการต่อเวลาพิเศษ
การต่อเวลาพิเศษ (Extra Time)
                ระเบียบของการแข่งขันอาจระบุช่วงเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากัน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 8
การยกเลิกการแข่งขัน (Abandoned Match)
                การยกเลิกการแข่งขัน จะต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
                ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอลและผู้เล่นคนที่ 2จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
                ผู้เล่นจะไม่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้า
1.                  เขาอยู่ในแดนตนเองของสนามแข่งขัน
2.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นคนที่ 2 จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
3.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นทั้ง 2 คน ท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
การกระทำผิด (Offence)
                ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าจะถูกลงโทษถ้าในขณะนั้นลูกบอลได้ถูกสัมผัสหรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขา และผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าเขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเล่นอย่างชัดแจ้ง (Involved in Active Play) โดย
1.                  เกี่ยวข้องกับการเล่น หรือ
2.                  เกี่ยวข้องผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือ
3.                  อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าขณะนั้น
การกระทำที่ไม่ผิด  (No Offence)
                ถ้าผู้เล่นรับลูกบอลโดยตรงจากกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้จะไม่เป็นการล้ำหน้า
1.                  การเตะจากประตู หรือ
2.                  การเตะจากมุม หรือ
3.                  การทุ่ม
การกระทำผิด/การลงโทษ (Infringement/Sanction)
                สำหรับการกระทำผิดทุกอย่างของการล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะลงโทษโดยให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมจาก ณ ที่ซึ่งมีการกระทำผิดเกิดขึ้น

  • กฎข้อที่ 12: การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยา
โทษโดยตรง (Direct Free Kick)
                ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ข้อต่อไปนี้ โดยผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิด หรือ ใช้กำลังแรงเกินกว่าเหตุ  จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรง ได้แก่
1.                  เตะ (Kicks) หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
2.                  ขัดขา (Trips) หรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้
3.                  กระโดด (Jumps) เข้าใส่คู่ต่อสู้
4.                  ชน (Charges) คู่ต่อสู้
5.                  ทำร้าย (Strikes) หรือพยายามทำร้ายคู่ต่อสู้
6.                  ผลัก (Pushes) คู่ต่อสู้
ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรงเช่นกัน ได้แก่
1.                  สกัดกั้น (Tackles) คู่ต่อสู้เพื่อแย่งการครอบครองลูกบอล แต่ทำการปะทะถูกตัวคู่ต่อสู้ก่อนที่จะสัมผัสลูกบอล
2.                  ดึง (Holds) คู่ต่อสู้
3.                  ถ่มน้ำลาย (Spits) รดใส่คู่ต่อสู้
4.                  เล่นลูกบอลด้วยมือโดยเจตนา (ยกเว้นผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง)
การเตะโทษโดยตรง ทำการเตะจากที่ซึ่งมีการกระทำผิดเกิดขึ้น
การเตะโทษ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
                ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 10 ข้อ ภายในเขตโทษของตนเองในขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น  จะให้เป็นการเตะโทษ ณ จุดโทษโดยไม่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ลูกบอลอยู่
การเตะโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick)
                จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมถ้าผู้รักษาประตูภายในเขตโทษของตนเองกระทำผิดตามความคิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้
1.                   ครอบครองลูกบอลอยู่ในมือเกินกว่า 6 วินาทีก่อนปล่อยออกจากการครอบครอง
2.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมืออีกครั้งภายหลังจากการปล่อยลูกบอลจากการครอบครองแล้ว และยังไม่ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นก่อน
3.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมือภายหลังจากผู้เห็นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้
4.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมือภายหลังจากการได้รับมาจากการทุ่มโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมเช่นกันถ้าในดุลยพินิจของผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นนั้น
1.                  เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
2.                  ขัดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของคู่ต่อสู้
3.                  ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลออกจากมือ
4.                  กระทำผิดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ระบุไว้ในกติกาข้อ 12 ซึ่งต้องทำการหยุดการเล่นเพื่อคาดโทษหรือให้ออกจากการแข่งขัน
การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากที่ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้น
การลงโทษเรื่องระเบียบวินัย (Disciplinary Sanctions)
                การแสดงใบแดงหรือใบเหลือง  สามารถใช้ได้กับผู้เล่นหรือผู้เล่นสำรองหรือผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวเท่านั้น
            การกระทำผิดที่ต้องได้รับการคาดโทษ (Cautionable Offences)
                ผู้เล่นจะถูกคาดโทษและแสดงใบเหลืองถ้าเขากระทำผิดตามความผิด 7 ประการต่อไปนี้
1.                   การกระทำผิดเกี่ยวกับการประพฤตินอย่างไม่มีน้ำใจนักกีฬา (Unsporting Behaviour)
2.                   แสดงอาการคัดค้านการตัดสินโดยคำพูดหรือกริยาท่าทางการแสดงออก (Dissent by Word or Action)
3.                   ทำผิดกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ (Persistently Infringes the Law of the Game)
4.                   ชะลอการเริ่มเล่น (Delay the Restart of Play)
5.                   เมื่อมีการเตะจากมุมหรือการเตะโทษเพื่อการเริ่มเล่นใหม่ ไม่ถอยไปอยู่ในระยะที่ถูกต้อง
6.                   เข้าไปสมทบหรือกลับเข้าไปสมทบในสนามแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
7.                   เจตนาออกจากสนามแข่งขันไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
การกระทำผิดที่ต้องให้ออก (Senting-off offences)
ผู้เล่นจะถูกให้ออกและแสดงใบแดงถ้าเขากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 7 ข้อต่อไปนี้
1.                   กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง (Serious Foul play)
2.                   ประพฤติผิดกติกาอย่างแรง (Violent Conduct)
3.                   ถ่มน้ำลายรดใส่ (Spit) คู่ต่อสู้หรือบุคคลอื่น ๆ
4.                   ป้องกันฝ่ายตรงข้ามในการได้ประตูหรือโอกาสในการทำประตูหรือโอกาสในการทำประตูอย่างชัดแจ้ง  โดยเจตนาใช้มือเล่นลูกบอล (ไม่รวมถึงผู้รักษาประตูที่อยู่ภายในเขตโทษของตนเอง)
5.                   ป้องกันโอกาสในการทำประตูได้อย่างชัดแจ้งของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเคลื่อนที่มุ่งตรงไปยังหน้าประตุของฝ่ายตนโดยการกระทำผิดกติกาต้องถูกลงโทษโดยตรง หรือเตะโทษ ณ จุดโทษ
6.                   ทำผิดซ้ำซาก (Uese offensive) ใช้วาจาดูหมิ่นเหยียบหยามหรือหยาบคาย (Insulting of Abusive Language) หรอแสดงท่าทางไม่เหมาะสม (Gestures) โดยผู้ตัดสินเป็นผู้พิจารณาระดับของความรุนแรงของการกระทำผิด
7.                   ได้รับการคาดโทษเป็นครั้งที่สองในการแข่งขันครั้งเดียวกัน (Receives a Second Caution in the Same Match)
ผู้เล่นที่ถูกให้ออกต้องออกจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสนามแข่งขันและเขตเทคนิค

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีการเล่นฟุตบอล

วิธีการเล่นฟุตบอล

           วิธีการเล่นฟุตบอล

จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
การชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
การชดเชยเวลาสามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งของการแข่งขันสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจาก
1. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
2. การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
3. การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันเพื่อทำการปฐมพยาบาล
4. การถ่วงเวลาการแข่งขัน
5. สาเหตุอื่น ๆที่เกิดขึ้นทุกกรณี

การชดเชยสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจะอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
การเตะ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
อนุญาตให้เพิ่มเวลาเพื่อการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ในช่วงเวลาสุดท้ายของแต่ละครี่ง หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของการต่อเวลาพิเศษ
การต่อเวลาพิเศษ (Extra Time)
ระเบียบของการแข่งขันอาจระบุช่วงเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากัน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 8
การยกเลิกการแข่งขัน (Abandoned Match)
การยกเลิกการแข่งขัน จะต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น


การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่ (The Start and Restart of Play) การเตรียมการเบื้อต้น (Perliminaries)
ทำการเสี่ยงเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายเลือกประตูที่จะทำการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขัน อีกทีมจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น (Kick-off) เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน และทำการรุกประตูตรงข้าม

การเตะเริ่มเล่น (Kick-off)
การเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันหรือเพื่อเริ่มเล่นใหม่
1. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน
2. ภายหลังจากมีการทำประตูได้
3. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันครึ่งเวลาหลัง
4. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษทีนำมาใช้สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น

ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure)
1. ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนตนเอง
2. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 9.15 เมตร (10 หลา) จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น
3. ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม
4. ผู้ตัดสินให้สัญญาณ
5. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว
6. ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ได้จนกว่าจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน
ภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้ อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการของฟุตบอล

 วิวัฒนาการของฟุตบอล

ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่ง
ถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้ง
สมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก
ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น
สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)


          สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

         สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา

งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ


          สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล

ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู
ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2
ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง