วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสุขจากกามเป็นความสุขที่มีความทุกข์เคลือบแฝง 
การลิ้มรสกามนั้นไม่ต่างกับการเลียน้ำผึ้งหวานบนปลายมีดโกน
กล่าวคือ มีความสุขแต่ก็มีความเสี่ยง

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อคิดดีๆๆ

ความรักไม่เคยทำให้ใครทุกข์
การไม่รู้จักธรรมชาติของความรักต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ 
ธรรมชาติของความรักคือเกิดขึ้น ดำรงอยู่ 
และแตกดับไปในที่สุด

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Soul Mate

คนๆ หนึ่ง กับใจซึ้งๆ ที่ยังเฝ้าคอย... จะได้พบใครในสักวัน
เดินคนเดียวอยู่ไปวันๆ มานานเหลือเกิน... มันเหงาเสียจนเริ่มท้อใจ

รอใครสักคนที่จะเข้ามา เปลี่ยนชีวิตที่มันจำเจให้ได้รู้ว่า
คนๆ นั้นยังมีอยู่จริง สิ่งที่ฉันรอมาแสนนาน... คนที่ฟ้าส่งมาให้ฉัน

แต่ว่าตอนนี้เธออยู่ที่ใดบนโลกนี้ที่มันช่างกว้างใหญ่
และฉันยังคงต้องรออีกนานเท่าไหร่
กว่าจะพบคนนั้นที่รออยู่ คู่แท้ที่จะเข้ามาเปลี่ยน...
ชีวิตคนธรรมดาคนนี้ให้ไม่ต้องเหงาอีกต่อไป

วาเลนไทน์ ก็ยังเดียวดาย ผ่านไปเหมือนเคยยังไม่มีใครสักคนที่ข้างกาย
มองใครๆ เดินจูงมือกัน แต่ฉันไม่มี ยังนั่งเหงาๆ เพียงลำพัง

รอใครสักคนที่จะเข้ามา เปลี่ยนชีวิตที่มันจำเจให้ได้รู้ว่า
คนๆ นั้นยังมีอยู่จริง สิ่งที่ฉันรอมาแสนนาน... คนที่ฟ้าส่งมาให้ฉัน

แต่ว่าตอนนี้เธออยู่ที่ใดบนโลกนี้ที่มันช่างกว้างใหญ่
และฉันยังคงต้องรออีกนานเท่าไหร่
กว่าจะพบคนนั้นที่รออยู่ คู่แท้ที่จะเข้ามาเปลี่ยน...
ชีวิตคนธรรมดาคนนี้ให้ไม่ต้องเหงาอีกต่อไป

แต่ว่าตอนนี้เธออยู่ที่ใดบนโลกนี้ที่มันช่างกว้างใหญ่
และฉันยังคงต้องรออีกนานเท่าไหร่
กว่าจะพบคนนั้นที่รออยู่ คู่แท้ที่จะเข้ามาเปลี่ยน...
ชีวิตคนธรรมดาคนนี้ให้ไม่ต้องเหงาอีกต่อไป

แต่ว่าตอนนี้เธออยู่ที่ใดบนโลกนี้ที่มันช่างกว้างใหญ่
และฉันยังคงต้องรออีกนานเท่าไหร่
กว่าจะพบคนนั้นที่รออยู่ คู่แท้ที่จะเข้ามาเปลี่ยน...
ชีวิตคนธรรมดาคนนี้ให้ไม่ต้องเหงาอีกต่อไป... อีกต่อไป

แค่เพียงใครสักคนที่อยู่ด้วยกันแล้วทำให้โลกนี้สดใส... เธออยู่ไหน
แค่เพียงใครสักคนที่ทำให้ฉันนั้นไม่ต้องเหงาตลอดไป

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปืนอมบ๊วยผลชี้วัดมูลค่าแฟนบอล ส่วนกุหลาบแชมป์

ถ้าแชมป์พรี เมียร์ลี กวัดจากมูลค่าของตัวเงินจากแฟนบอลแล้วล่ะก็แบล็คเบิร์น โรเวอร์สเป็นทีมที่คว้าแชมป์ได้สบาย ๆ ขณะที่อาร์เซน่อลจะกลายเป็นทีมบ๊วยไปในทันทีจากข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดย Caxton FX บริษัทที่ทำเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

จาก การใช้อัลกอริทึ่มที่ซับซ้อนบนพื้นฐานจาก fantasy football rating เพื่อคำนวณหามูลค่าแฟนบอลของแต่ละทีมโดยนำเอามูลค่าของทีมและราคาของตั๋วปี ที่ถูกที่สุดของแต่ละทีมมาเป็นตัวแปรเพื่อเข้าสูตร ซึ่งทาง Caxton Fx ก็จะแสดงค่าชี้วัดของมูลค่าของแฟนบอลในแต่ละทีมในพรีเมียร์ลีกออกมาได้

รู เพิร์ต ลี-บราวน์ CEO ด้านการเงินของ Caxton FX ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวเผยว่า "มันเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้เห็นว่าสโมสรอย่างแบล็คเบิร์นสามารถ รักษา ราคาของที่นั่งได้ในระดับที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตั๋วปีของพวกเขาจะถูกที่สุดแล้วแต่ตกเกมนึงมันก็เกิน 20 ปอนด์อยู่ดี"

จาก ผลลัพธ์กลายเป็นว่าอาร์เซน่อลทีมซึ่งมีราคาค่าตั๋วปีที่แพงสุดใน พรีเมียร์จมอยู่ท้ายตารางทันทีขณะที่ลิเวอร์พูลกับสเปอร์สก็อยู่ใกล้โซนตก ชั้น

"ตั๋วปีในพรีเมียร์ลี กถือว่ามีราคาห่างไกลจากชาติอื่นๆ ในยุโรปพอสมควร ไม่ว่าจะเทียบกับเซเรียอาหรือ ลาลีกาก็ตาม" บราวน์บรรยายต่อ

"เกมพรีเมียร์ลีกไม่ได้แพงเฉพาะสำหรับแฟน ในยุโรปแต่มันยังแพงที่สุดในโลกนี้เลยด้วย"

อัตรามูลค่าแฟนบอลของแต่ละทีมในพรี เมียร์ลีก


Image

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของตนเอง

ดิฉันเกิดวันที่ 14 ธันวาคม 1989  ณ กรุงเทพ


เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


คณะคหกรรมศาสตร์   สาขาอาหารและโภชนาการ


คติประจำใจ  ความสุขกับความทุกข์อยู่ใกล้กันเหมือนวันนี้กับวันพรุ่งนี้

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กติกาฟุตบอล


กติกาฟุตบอล

กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอลขนาดสนาม  (Dimensions)
                สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยความยาวของเส้นข้าง (Touch Line)  ต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตู (goal Line)
                ความยาว                ต่ำสุด      90           เมตร       (100 หลา)            
                                                สูงสุด     120         เมตร       (130 หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      45           เมตร       (50    หลา)
                                                สูงสุด     90           เมตร       (100  หลา)
     การแข่งขันระหว่างชาติ
                ความยาว                ต่ำสุด      100         เมตร       (110 หลา)
                                                สูงสุด     110         เมตร       (120  หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      64           เมตร       (70  หลา)
                                                สูงสุด     75           เมตร       (80  หลา)
การทำเครื่องหมายต่าง ๆ ของสนาม ( Field Markings)
                สนามแข่งขันทำด้วยเส้นต่าง ๆ ซึ่งเส้นต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นที่ของเขตนั้น ๆ ด้วย  เส้นที่มีความกว่า 2 เส้น  เรียกว่า  "เส้นข้าง" เส้นที่สั้นกว่า 2 เส้น เรียกว่า "เส้นประตู" ทุกเส้นต้องมีความกว้างไม่เกิน 12 เซนติเมตร  (5 นิ้ว)
                สนามแข่งขันจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน  โดยเส้นแบ่งเขตแดน(Halfway Line) จะทำจุดกึ่งกลางสนาม (Center mark) ไว้ และทำวงกลมรัศมี 9.15 เมตร (10 หลา) ล้อมรอบจุดนี้ไว้
เขตประตู (The Goal Area)
                เขตประตูจะทำไว้ตรงท้ายของสนามแต่ละด้าน  ดังนี้
                จากขอบเสาประตูด้านในแต่ละข้างวัดออกไปตามแนวเส้นประตุแต่ละด้านละ 5.5 เมตร (6 หลาและทำเส้นเป็นแนวตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 5.5 เมตร ( 6  หลาเส้นทั้งสองเส้นนี้จะเชื่อมต่อด้วยเส้นหนึ่งที่เขียนขนานกับเส้นประตู  พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบ  เรียกว่า  "เขตประตู"
เขตโทษ (Penalty Area)
เขตโทษจะทำไว้ส่วนท้ายของสนามแต่ละด้าน ดังนี้
                จากขอบเสาประตูด้านในแต่ละข้างวัดออกไปตามแนวเส้นประตูด้านละ 16.5 เมตร  เส้นทั้งสองเส้นนี้จะเชื่อมต่อด้วยเส้นหนึ่งที่ขนานกับเส้นประตู  พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบเรียกว่า "เขตโทษ"
                ภายในเขตโทษแต่ละด้านทำจุดโทษ (Penaity Mark) ไว้ โดยห่างจากจุดกึ่งกลาวงระหว่างเสาประตูเป็นระยะทาง 11 เมตร (12 หลาและทำส่วนโค้งเขัยนไว้ด้านนอกเขตโทษโดยรัสมีห่างจากจุดโทษแต่ละด้านเป็นระยะทาง 9.15  เมตร (10 หลา)
เสาธง (Flagposts)
                เสาธงต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร (5 ฟุตต้องไม่มียอดแหลมและจะปักไว้ที่มุมสนามแต่ละมุม
                อาจปักเสาธงไว้ที่ปลายเส้นแบ้งแดนแต่ละด้านก็ได้  แต่ต้องห่างจากเส้นข้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร (1  หลา )
ส่วนดค้งมุมสนาม(The Corner Arc)
                จากเสาธงมุมสนามแต่ละด้านให้เขียน 1/4 ของส่วนโค้งไว้ด้านในสนามแข่งขันโดยมีรัศมี 1 เมตร (1 หลา)
ประตู(Goals)
                ประตูต้องตั้งอยู่บนกึ่งกลางเส้นประตูแต่ละด้าน  ประกอบด้วยเสา 2 ต้นที่ปักตั้งฉากไว้และวัดห่างจากธงมุมสนามเป็นระยะห่างเท่ากัน  และมีคานเชื่อมต่อในแนวนอน  ระยะทางระหว่างเสาประตู 7.32 เมตร (8 หลาและระยะทางจากส่วนใต้คานถึงพื้นสนาม 2.44 เมตร (8 ฟุต)
                เสาและคานประตูทั้งสองด้าน  ต้องมีขนาดเท่ากัน  และมีความกว้างและความหนาไม่เกิน 12 เซนติเมตร (5 นิ้ว) เส้นประตูต้องมีความกว้างเท่ากับความกว้างของเสาและคานประตู อาจติดตาข่ายไว้ที่ประตูและพื้นสนามด้านหลังประตูโดยต้องแน่ใจว่าติดต้องไว้อย่างเรียนร้อยเหมาะสม  และต้องไม่รบกวนการเล่นของผู้รักษาประตู
                เสาและคานประตูต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
ความปลอดภัย(Safety)
                ประตูต้องตั้งยึดติดไว้กับพื้นสนามเพื่อความปลอดภัย  อาจใช้ประตูที่เคลื่อนย้ายได้ถ้าทำตามความต้องการนี้จนพอใจแล้ว
มติสภาฟุตบอลระหว่างประเทศ
1.                   ถ้าคานประตูหลุด หรือหัก จะต้องหยุดการเล่นจนกว่าจะมีการซ่อมให้เสร็จหรือเปลิ่อนใหม่ก่อนถ้าไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้จะต้องยุติการแข่งขัน  ไม่อนุญาตให้ใช้เชือกขึงแทนคานประตู  การเริ่มเล่นใหม่จะเริ่มโดยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
2.                   เสาและคานประตูต้องทำด้วยไม้ ดลหะ หรือวัสดุที่ได้รับการรับรองแล้ว รูปทรงอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า จัตุรัส ทรงกลม หรือรูปไข่ และต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
3.                   ไม่อนุญาตให้โฆษณาสินค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นของจริงหรือตัวแทนบนสนามแข้งขันและอุปกรณ์ของสนาม รวมทั้งที่ตาข่ายประตูและพื้นที่ภายในนั้น) นับตั้งแต่ทีมได้เข้าไปสู่สนามแข่งขันอีก จรกระทั้งหมดเวลาของการแข่งขันต้องไม่มีการโฆษณาบนอุปกณ์ทุกชนิดที่แสดงให้เห็นบนขอบประตู ตาข่าย เสาธง หรือบนพื้นธง  ต้องไม่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ จากภายนอกที่มาติดตั้งไว้กับสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวด้วย (กล้อง ไมโครโฟน ฯลฯ)
4.                   ห้ามมีการโฆษณาใด ๆ บนพื้นที่ภายในรัศมี 1 เมตรจากเส้นขอบของสนามฟุตบอล  และไม่อนุญาตให้ติดป้ายโฆษณาบริเวณระหว่างเส้นประตูและบริเวณหลังตาข่ายของประตูฟุตบอล
5.                   ห้ามจำลองสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายใด ๆ ไม่ว่าจะเป้นของจริงหรือตัวแทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ  สหพันธ์สมาคมแห่งชาติ สโมสร หรือองค์กรอื่น ๆบนสนามแข่งขัน  และอุปกรณ์ของสนาม (รวมทั้งที่ตาข่ายประตูและพื้นที่ภายในนั้น)
6.                   อาจทำเส้นตั้งฉากกับเส้นประตูไว้ด้านนอกสนามแข่งขันโดยวัดห่างจากส่วนโค้งมุมสนามมาเป็นระยะทาง 9.15 เมตร (10 หลา) เพื่อให้แน่ใจว่าในขณะมีการเตะจากมุมได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระยะนี้

  • กฎข้อที่ 2คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements)
ลูกบอลต้อง
1.      เป็นทรงกลม
2.      ทำจากหนังหรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม
3.      เส้นรอบวงไม่เกินกว่า 70 เซนติเมตร (28 นิ้วไม่น้อยกว่า 68 เซนติเมตร (27 นิ้ว)
4.   ในขณะที่เริ่มทำการแข้งขันน้ำหนักไม่เกิน 450 กรัม (16 ออนซ์และไม่ต่ำกว่า 410 กรัม (14 ออนซ์)
5.   ความดันลมเมื่อวัดที่ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 0.6 - 1. (600 -1100 กรัม/ตร.ซฒ. หรือ 8.5 -15.6 ปอนด์/ตร.นิ้ว)
 การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด
                ถ้าลูกบอลแตก  หรือชำรุดระหว่างการแข่งขัน ต้อง
1.      หยุดการเล่น
2.      เริ่มเล่นใหม่โดยทำการเปลี่ยนใหม่ ณ จุดที่ลูกบอลแรกชำรุด
ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในขณะที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น เช่น เมื่อเตะเริ่มเล้น  เตะจากประตู เตะจากมุม เตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการทุ่ม ต้องเริ่มจากเล่นใหม่ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 
ในขณะแข่งขันจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน

  • กฎข้อที่ 4
 อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น) ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขัน ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตู และยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น

  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
อำนาจและหน้าที่ (The Authority of the Referee)
                การแข่งขันแต่ละครั้งต้องควบคุมโดยผู้ตัดสินซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
อำนาจ และหน้าที่ (Poers and Duties)
            ผู้ตัดสินต้อง
1.                   ปฏิบัติตามกติกาข้อต่าง ๆ
2.                   ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
3.                   แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
4.                   แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
5.                   ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน  และเขียนรายงานการแข่งขัน
6.                   พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
7.                   พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วครา หรือยุติการแข่งขัน  เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
8.                   สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้าออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว  ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้ริมเล่นไปแล้ว
9.                   อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
10.               แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว  และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
11.               อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ () และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น ก้จะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
12.               ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
13.               ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ()  และการให้ออกจาการแข่งขัน () เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด  แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
14.               ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี  และเขาอาจพิจารณาให้อกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันมี
15.               ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
16.               แน่ในว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
17.               ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
18.               เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้  ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์ณ์อื่น ๆ ทักกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน  ระหว่างการแข่งขัน  หรือภายหลังการแข่งขัน
การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสิน
                การพิจารณาตัดสินในของผู้ตัดสินที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขันถือเป็นข้อยุติ    ผู้ตัดสินอาจกลับคำตัดสินได้ถ้าพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกต้องหรือเขาได้พิจารณาตามความช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสิน  โดยมีเงื่อนไขว่า การเริ่มเล่นใหม่นั้นยังไม่ได้เริ่มขึ้น

  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
       การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง  ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม  การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)
พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1.                  ผู้ล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2.                  การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3.                  ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4.                   เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
การชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
                การชดเชยเวลาสามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งของการแข่งขันสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจาก
1.                  การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
2.                  การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
3.                  การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันเพื่อทำการปฐมพยาบาล
4.                  การถ่วงเวลาการแข่งขัน
5.                  สาเหตุอื่น ๆที่เกิดขึ้นทุกกรณี
การชดเชยสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจะอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
การเตะ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
                อนุญาตให้เพิ่มเวลาเพื่อการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ในช่วงเวลาสุดท้ายของแต่ละครี่ง  หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของการต่อเวลาพิเศษ
การต่อเวลาพิเศษ (Extra Time)
                ระเบียบของการแข่งขันอาจระบุช่วงเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากัน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 8
การยกเลิกการแข่งขัน (Abandoned Match)
                การยกเลิกการแข่งขัน จะต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
                ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอลและผู้เล่นคนที่ 2จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
                ผู้เล่นจะไม่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้า
1.                  เขาอยู่ในแดนตนเองของสนามแข่งขัน
2.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นคนที่ 2 จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
3.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นทั้ง 2 คน ท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
การกระทำผิด (Offence)
                ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าจะถูกลงโทษถ้าในขณะนั้นลูกบอลได้ถูกสัมผัสหรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขา และผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าเขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเล่นอย่างชัดแจ้ง (Involved in Active Play) โดย
1.                  เกี่ยวข้องกับการเล่น หรือ
2.                  เกี่ยวข้องผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือ
3.                  อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าขณะนั้น
การกระทำที่ไม่ผิด  (No Offence)
                ถ้าผู้เล่นรับลูกบอลโดยตรงจากกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้จะไม่เป็นการล้ำหน้า
1.                  การเตะจากประตู หรือ
2.                  การเตะจากมุม หรือ
3.                  การทุ่ม
การกระทำผิด/การลงโทษ (Infringement/Sanction)
                สำหรับการกระทำผิดทุกอย่างของการล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะลงโทษโดยให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมจาก ณ ที่ซึ่งมีการกระทำผิดเกิดขึ้น

  • กฎข้อที่ 12: การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยา
โทษโดยตรง (Direct Free Kick)
                ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ข้อต่อไปนี้ โดยผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิด หรือ ใช้กำลังแรงเกินกว่าเหตุ  จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรง ได้แก่
1.                  เตะ (Kicks) หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
2.                  ขัดขา (Trips) หรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้
3.                  กระโดด (Jumps) เข้าใส่คู่ต่อสู้
4.                  ชน (Charges) คู่ต่อสู้
5.                  ทำร้าย (Strikes) หรือพยายามทำร้ายคู่ต่อสู้
6.                  ผลัก (Pushes) คู่ต่อสู้
ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรงเช่นกัน ได้แก่
1.                  สกัดกั้น (Tackles) คู่ต่อสู้เพื่อแย่งการครอบครองลูกบอล แต่ทำการปะทะถูกตัวคู่ต่อสู้ก่อนที่จะสัมผัสลูกบอล
2.                  ดึง (Holds) คู่ต่อสู้
3.                  ถ่มน้ำลาย (Spits) รดใส่คู่ต่อสู้
4.                  เล่นลูกบอลด้วยมือโดยเจตนา (ยกเว้นผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง)
การเตะโทษโดยตรง ทำการเตะจากที่ซึ่งมีการกระทำผิดเกิดขึ้น
การเตะโทษ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
                ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 10 ข้อ ภายในเขตโทษของตนเองในขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น  จะให้เป็นการเตะโทษ ณ จุดโทษโดยไม่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ลูกบอลอยู่
การเตะโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick)
                จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมถ้าผู้รักษาประตูภายในเขตโทษของตนเองกระทำผิดตามความคิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้
1.                   ครอบครองลูกบอลอยู่ในมือเกินกว่า 6 วินาทีก่อนปล่อยออกจากการครอบครอง
2.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมืออีกครั้งภายหลังจากการปล่อยลูกบอลจากการครอบครองแล้ว และยังไม่ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นก่อน
3.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมือภายหลังจากผู้เห็นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้
4.                   สัมผัสลูกบอลด้วยมือภายหลังจากการได้รับมาจากการทุ่มโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมเช่นกันถ้าในดุลยพินิจของผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นนั้น
1.                  เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
2.                  ขัดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของคู่ต่อสู้
3.                  ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลออกจากมือ
4.                  กระทำผิดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ระบุไว้ในกติกาข้อ 12 ซึ่งต้องทำการหยุดการเล่นเพื่อคาดโทษหรือให้ออกจากการแข่งขัน
การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากที่ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้น
การลงโทษเรื่องระเบียบวินัย (Disciplinary Sanctions)
                การแสดงใบแดงหรือใบเหลือง  สามารถใช้ได้กับผู้เล่นหรือผู้เล่นสำรองหรือผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวเท่านั้น
            การกระทำผิดที่ต้องได้รับการคาดโทษ (Cautionable Offences)
                ผู้เล่นจะถูกคาดโทษและแสดงใบเหลืองถ้าเขากระทำผิดตามความผิด 7 ประการต่อไปนี้
1.                   การกระทำผิดเกี่ยวกับการประพฤตินอย่างไม่มีน้ำใจนักกีฬา (Unsporting Behaviour)
2.                   แสดงอาการคัดค้านการตัดสินโดยคำพูดหรือกริยาท่าทางการแสดงออก (Dissent by Word or Action)
3.                   ทำผิดกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ (Persistently Infringes the Law of the Game)
4.                   ชะลอการเริ่มเล่น (Delay the Restart of Play)
5.                   เมื่อมีการเตะจากมุมหรือการเตะโทษเพื่อการเริ่มเล่นใหม่ ไม่ถอยไปอยู่ในระยะที่ถูกต้อง
6.                   เข้าไปสมทบหรือกลับเข้าไปสมทบในสนามแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
7.                   เจตนาออกจากสนามแข่งขันไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
การกระทำผิดที่ต้องให้ออก (Senting-off offences)
ผู้เล่นจะถูกให้ออกและแสดงใบแดงถ้าเขากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 7 ข้อต่อไปนี้
1.                   กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง (Serious Foul play)
2.                   ประพฤติผิดกติกาอย่างแรง (Violent Conduct)
3.                   ถ่มน้ำลายรดใส่ (Spit) คู่ต่อสู้หรือบุคคลอื่น ๆ
4.                   ป้องกันฝ่ายตรงข้ามในการได้ประตูหรือโอกาสในการทำประตูหรือโอกาสในการทำประตูอย่างชัดแจ้ง  โดยเจตนาใช้มือเล่นลูกบอล (ไม่รวมถึงผู้รักษาประตูที่อยู่ภายในเขตโทษของตนเอง)
5.                   ป้องกันโอกาสในการทำประตูได้อย่างชัดแจ้งของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเคลื่อนที่มุ่งตรงไปยังหน้าประตุของฝ่ายตนโดยการกระทำผิดกติกาต้องถูกลงโทษโดยตรง หรือเตะโทษ ณ จุดโทษ
6.                   ทำผิดซ้ำซาก (Uese offensive) ใช้วาจาดูหมิ่นเหยียบหยามหรือหยาบคาย (Insulting of Abusive Language) หรอแสดงท่าทางไม่เหมาะสม (Gestures) โดยผู้ตัดสินเป็นผู้พิจารณาระดับของความรุนแรงของการกระทำผิด
7.                   ได้รับการคาดโทษเป็นครั้งที่สองในการแข่งขันครั้งเดียวกัน (Receives a Second Caution in the Same Match)
ผู้เล่นที่ถูกให้ออกต้องออกจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสนามแข่งขันและเขตเทคนิค

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีการเล่นฟุตบอล

วิธีการเล่นฟุตบอล

           วิธีการเล่นฟุตบอล

จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน

การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40 นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)

พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval)
1. ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2. การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3. ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4. เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น
การชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
การชดเชยเวลาสามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งของการแข่งขันสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจาก
1. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
2. การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
3. การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันเพื่อทำการปฐมพยาบาล
4. การถ่วงเวลาการแข่งขัน
5. สาเหตุอื่น ๆที่เกิดขึ้นทุกกรณี

การชดเชยสำหรับเวลาที่สูญเสียไปจะอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
การเตะ ณ จุดโทษ (Penalty Kick)
อนุญาตให้เพิ่มเวลาเพื่อการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ในช่วงเวลาสุดท้ายของแต่ละครี่ง หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของการต่อเวลาพิเศษ
การต่อเวลาพิเศษ (Extra Time)
ระเบียบของการแข่งขันอาจระบุช่วงเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากัน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 8
การยกเลิกการแข่งขัน (Abandoned Match)
การยกเลิกการแข่งขัน จะต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น


การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่ (The Start and Restart of Play) การเตรียมการเบื้อต้น (Perliminaries)
ทำการเสี่ยงเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายเลือกประตูที่จะทำการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขัน อีกทีมจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น (Kick-off) เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน และทำการรุกประตูตรงข้าม

การเตะเริ่มเล่น (Kick-off)
การเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันหรือเพื่อเริ่มเล่นใหม่
1. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน
2. ภายหลังจากมีการทำประตูได้
3. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันครึ่งเวลาหลัง
4. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษทีนำมาใช้สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น

ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure)
1. ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนตนเอง
2. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 9.15 เมตร (10 หลา) จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น
3. ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม
4. ผู้ตัดสินให้สัญญาณ
5. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว
6. ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ได้จนกว่าจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน
ภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้ อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น